เมนู

วิเศษยิ่ง ด้วยตนเองทีเดียว. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ ได้แก่ ได้อยู่.
บทว่า สรณียํ ความว่า ธรรมดาว่า สถานที่ที่ตนเองได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือ ไม่ลืมตลอดชีวิตว่า เราได้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์ ที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระธรรมเทศนาตามอนุสนธิ ดังว่า
มานี้แล.
จบอรรถกถาสรณียสูตรที่ 2

3. ภิกขุสูตร



ว่าด้วยบุคลล 3 จำพวกในทางโลกและทางธรรม



[452] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีอยู่ในโลก บุคคล
3 จำพวกไหน คือ บุคคลผู้ไร้ความหวัง บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง บุคคล
ผู้สิ้นความหวังแล้ว
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้ไร้ความหวัง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลคนดีดพิณก็ดี
ตระกูลพรานก็ดี ตระกูลช่างทำรถก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจน
ขัดสนข้าวน้ำโภชนะ เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้
โดยฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค คือ ตาบอดบ้าง
เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ

ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคล
ผู้นั้นได้ยินข่าวว่า เจ้าผู้มีพระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็น
กษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลาย
จักอภิเษกเราให้เป็นกษัตริย์บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้ไร้
ความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้มีส่วนแห่งความหวัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ยังมิได้รับอภิเษก
ด้วยน้ำอภิเษก เป็นผู้มั่นคงแล้ว พระโอรสนั้นได้สดับข่าวว่า เจ้าผู้มี
พระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็นกษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้
ย่อมมีได้แก่พระโอรสนั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลายจักอภิเษกเราให้เป็น
กษัตริย์บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้สิ้นความหวังแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระราชาได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกแล้ว พระราชานั้นทรงสดับข่าวว่า เจ้าผู้มี
พระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็นกษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้
ไม่มีแก่พระราชานั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลายจักอภิเษกให้เราเป็นกษัตริย์
บ้าง นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์เมื่อครั้ง
ยังมิได้อภิเษกนั้นรำงับไปแล้ว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่าบุคคลผู้สิ้น
ความหวังแล้ว
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกมีอยู่ในโลก
ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกก็มีอยู่ในหมู่
ภิกษุ บุคคล 3 จำพวกไหนบ้าง คือ บุคคลผู้ไร้ความหวัง บุคคลผู้มีส่วน
แห่งความหวัง บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว

ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้ไร้ความหวัง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก (มีการกระทำ) ไม่สะอาด
มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด ไม่เป็นสมณะ แต่ปฏิญญา
ว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นคนเน่าใน
เปียกชื้นรกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ) บุคคลนั้นได้ยินข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำ
ให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
สิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ ความหวังอย่างนี้
ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เรา
เรียกว่า บุคคลผู้ไร้ความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้มีส่วนแห่งความหวัง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ภิกษุนั้นได้ยินข่าวว่า ภิกษุ
ชื่อนี้ กระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ใน
ปัจจุบันนี้ ความหวังอย่างนี้ย่อมมีได้แก่ภิกษุนั้นว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำ
ให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นี่
ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้สิ้นความหวังแล้ว ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว เธอได้ยินข่าวว่า ภิกษุ
ชื่อนี้ การทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ใน
ปัจจุบันนี่ ความหวังอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่เธอว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำให้
แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นั่น

เพราะเหตุอะไร เพราะความหวังในวิมุตติของเธอ เมื่อครั้งยังไม่วิมุตตินั้น
รำงับไปแล้ว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกมีอยู่ในหมู่ภิกษุ.
จบภิกขุสูตรที่ 3

อรรถกถาภิกขุสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในภิกขุสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่ คือหาได้อยู่. บทว่า สํวิชฺชมานา
เป็นไวพจน์ของบทว่า สนฺโต นั้นนั่นแล. บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่ ใน
สัตว์โลก. บทว่า นิราโส ได้แก่บุคคลผู้ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความ
ปรารถนา.

อธิบายบทว่า อาสํโส - วิคตาโส



บทว่า อาสํโส ได้แก่ บุคคลยังหวังอยู่ คือยังปรารถนาอยู่. บทว่า
วิคตาโส ได้แก่ บุคคลผู้เลิกหวังแล้ว. บทว่า จณฺฑาลกุเล ได้แก่ ใน
ตระกูลของคนจัณฑาลทั้งหลาย. บทว่า เวณกุเล ได้แก่ ในตระกูลของช่าง
สาน.1 บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่ ในตระกูลของนายพราน มีนายพราน
เนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ในตระกูลช่างหนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล
ได้แก่ ในตระกูลของคนเทขยะ.
ครั้นทรงแสดงความวิบัติของตระกูลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้
เพราะเหตุที่บุคคลลางคน แม้เกิดในตระกูลต่ำก็ยังมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก แต่บุคคล
1. ปาฐะว่า วิวินฺนการกุเล ฉบับพม่าเป็น วิลีวการกุเล แปลตามฉบับพม่า.